โฟเลตกับผู้สูงอายุ… จำเป็นมากแค่ไหน
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักทานอาหารได้น้อย และบางคนก็เลือกที่จะไม่ทานผักใบเขียว และธัญพืช ด้วยเหตุผลที่ว่าเคี้ยวยาก กังวลว่าจะย่อยลำบาก ซึ่งอาจทำให้ระดับโฟเลตในร่างกายต่ำได้ค่ะ
เมื่อระดับโฟเลตในร่างกายลดต่ำลงจะทำให้ระดับโฮเมซีสเทอินสูงขึ้น ซึ่งเจ้าโฮโมซิสเทอินนี้เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการย่อยสลายสารอาหารประเภทโปรตีนค่ะ
การที่ร่างกายมีระดับกรดอะมิโนตัวนี้สูงก็อาจส่งผลต่อหลอดเลือดและผนังหลอดเลือดได้ กล่าวคือ ทำให้หลอดเลือดแดงและผนังหลอดเลือดเกิดความเสียหายได้
นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่พบว่าระดับโฮโมซิสเทอินที่สูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ว่าระดับโฟเลตสัมพันธ์กับระดับโฮโมซิสเทอิน
โฟเลตต่ำ = โฮโมซิสเทอินสูง
โฟเลตสูง = โฮโมซิสเทอินต่ำ
เพื่อให้ร่างกายมีโฟเลตเพียงพอ ผู้สูงอายุจึงควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเกี่ยวกับการรับโฟเลตในปริมาณที่เหมาะสม หรือรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ได้แก่
พืชผัก >> ปวยเล้ง บร็อกโคลี่ ผักโขม คะน้า ฟักทอง
ผลไม้ >> อะโวคาโด้ ส้ม สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ มะเขือเทศ มันเทศ กล้วย
ธัญพืช >> ถั่วแดง เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี
เนื้อสัตว์ >> อกไก่ไม่ติดมัน ปลาดุก ตับ
เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ร่างกายไม่ขาดโฟเลตในวัยสูงอายุแล้วค่ะ